วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การใช้โปรแกรม Boxgen ออกแบบกล่อง

กล่องกระดาษขนาด กว้าง 10 ซม./สูง 16 ซม./ลึก 3 ซม.

การออกแบบโดยการใช้ Boxgen รูปแบบที่เลือกคือ
Four panal/Standard Reverse Tuck/Slit/Slit : Ok
หน่วยที่ใช้ในการวัดคือ มิลลิเมตร การใส่ขนาดโครงสร้างคือ
Length : 100.00
Width  : 30.00
Depth  : 160.00
Glue Flap : 8.73125 (ใช้ค่าต่ำสุด)

เสร็จเรียบร้อยกด OK ก็จะได้ตัวอย่างกล่องดังภาพ
การเซพไฟล์ ง่ายๆก็คือ Print Scrn
หรือ Export File เป็น นามสกุล .AI(แนะนำ) แล้วเปิดขึ้นมาด้วย AI 
ให้เราปรับขนาดของเส้นให้เหลือ 0.8 จะได้ภาพที่คมยิ่งขึ้น

-------------------------------------------------------------------

ออกแบบโดย

นายสุทธิพร ทุ่งมีผล
รหัส 5211302061
สาขาวิชา ศิลปกรรม(ออกแบบนิเทศศิลป์)
วิชาออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201
โปรแกรม Boxgen 2.0 แนะนำโดย อ.ประชิด ทิณบุตร

ออกแบบนามบัตร

ด้านหน้า


ด้านหลัง

ARTD3302-Suttiporn ผลิตภัณฑ์ บัตเตอร์ วาฟเฟิล ตรา โซวาฟ

 


ภาพที่ 1 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ ด้านหน้าและด้านหลัง



บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษเคลือบ ขนาด สูง16.5 ซม./ยาว 10 ซม./กว้าง 3.5 ซม.


หมายเลข 1 คือ โลโกของบริษัทยูโรเปี้ยน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องขนมบ่งบอกว่าเป็น
บริษัทผู้ผลิต
หมายเลข 2 คือ โลโกของขนม ตัวอักษรใช้สีครีมเข้ม พื้นหลังเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสี
น้ำตาลเข้ม มีจุดประสีครีมด้านบนล่างของคำว่า โซวาฟ เพื่อลดความ
แข็งกระด้างของตัวอักษร ด้านบนล่างของกรอบพื้นหลังสีน้ำตาล
มีเส้นสีทอง เพื่อให้โลโกนั้นดูเด่นขึ้นมา
หมายเลข 3 คือ ชนิดของขนม ตัวอักษรใช้สีน้ำตาลเข้มขอบครีม
หมายเลข 4 คือ รูปภาพตัวอย่างสินค้าที่อยู่ภายใน และภาพนั้นก็เป็นพื้นหลังอีกด้วย
การจัดภาพ จะให้ตัวสินค้าที่อยู่ใกล้เด่นชัด แล้วนอกจากนั้นก็ค่อยๆ
เบลอภาพที่เห็นตัวสินค้าจัดวางบนจาน พร้อมกาน้ำชา และแก้วกาแฟ 
บ่งบอกว่าสินค้านี้เป็นสินค้าที่เหมาะกับการทานคู่กับอะไร
หมายเลข 5 คือ สิ่งบ่งบอกปริมาณของสินค้า ใช้ตัวอักษร ทั้งภาษาอังกฤษและไทย 
สีน้ำตาลเข้ม ตัดกับสีภาพพื้นหลัง
หมายเลข 6 คือ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 กล่อง ตัวหนังสือสีดำขอบขาว มีตาราง
บอกโภชนาการพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ
หมายเลข 7 คือ การปั้มบอกวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ
โดยรวม - ภาพโดยรวมจะเป็นโทนสีครีม-น้ำตาล ให้ความรู้สึกเรียบง่ายสบายๆ 
พื้นหลังสีครีมทำให้ โลโก หรือตัวหนังสือต่างๆดูเด่นไม่กลืนกับพื้นหลัง 
อีกทั้งยังมีลูกเล่นหน้าชัดหลังเบลอให้สินค้าดูเด่น อีกด้วย





ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ ด้านข้าง ทั้งหมด



หมายเลข 8 คือ ที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต ตัวอักษรสีขาว มีทั้งภาษาไทย-อังกฤษ
หมายเลข 9 คือ เว็บไซต์และเบอร์โทรของบริษัท ซึ่งถูกทำให้เด่นขึ้นด้วยกรอบสีขาว
ตัดกับสีพื้นหลัง ตัวอักษรภายในใช้สีดำ
หมายเลข 10 คือ โลโก THAILAND Diversity&Refinement เพื่อแสดงคุณภาพ
ของสินค้า
หมายเลข 11 คือ ส่วนประกอบสำคัญของสินค้าบอกเป็นภาษาไทยและอังกฤษ
ตัวอักษรสีขาวตัดกับพื้นหลัง
หมายเลข 12 คือ กรอบสี่เหลี่ยมสีขาว 2 กรอบ ภายในกรอบเป็นตารางบอกข้อมูล
ทางโภชนาการแบบละเอียด เป็นภาษาไทย ส่วนอีกกรอบ
เป็นภาษาอังกฤษ
หมายเลข 13 คือ คำเตือน ลักษณะเป็นกรอบสีขาวขอบสีแดง ตัวอักษรสีแดง เพื่อให้
ข้อความเด่นชัด
หมายเลข 14 คือ เลขที่ อย. ใช้ขอบสีขาวเพื่อไม่ให้กลืนไปกับพื้นหลัง
หมายเลข 15 คือ สัญลักษณ์ กอท.ฮอ(สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย)
กับ Do not litter
หมายเลข 16 คือ บาร์โคด
หมายเลข 17 คือ ข้อความบอกว่า วันผลิตและวันหมดอายุ ให้ดูที่ข้างกล่อง(หมายเลข7)


สรุปโดยรวม ถือว่าเป็นการออกแบบที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ไทนสี ที่เข้ากับสินค้า 
หรือแบ่งส่วนต่างๆด้วยสีพื้นหลัง มีรายละเอียดที่ชัดเจนครบถ้วน 
ส่วนข้อเสียที่พบก็คือ ไม่ระบุราคาข้างกล่อง





รายงานสรุปวิชา : ARTD3302  Graphic design for packaging   
รายงาน : การศึกษาบรรจุภัณฑ์
นายสุทธิพร  ทุ่งมีผล
รหัสนักศึกษา 5211302061
สาขาวิชา ศิลปกรรม (ออกแบบนิเทศศิลป์)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
E-mail : suttiporn.tungmepol@gmail.com
Tel.080-554-0622


วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน 20/6/56

สมัคร art.chandra.ac.th/claroline
-สมัครวิชาเรียน เข้ากลุ่มเรียน และทำบททดสอบก่อนเรียน
-แนะนำเว็บไซต์ dict.longdo.com (เป็นเว็บดิก)
-Google Drive เก็บข้อมูล 50 Gb
การบ้าน
-ให้ นศ. ศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมมา อธิบายว่าเขาต้องการขายอะไร อะไรเด่น ภาพที่เขาใช้เป็นอย่างไร โทนสี การใช้ภาษา ดูความหมายเฉพาะของคำที่ใช้ ศึกษาผลิตภัณฑ์ดีๆก่อนแกะดูข้างใน
-ออกแบบนามบัตร ใช้ฟอนต์ตระกูล Th มีตรามหาวิทยาลัย ขนาด 5x9 นิ้ว
-งานกลุ่ม ให้สำรวจสินค้าในเขตพื้นที่ ซ.เสือใหญ่
  ชื่องาน การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตรายย่อยที่ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตนเอง

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Packaging News.

Parker Williams creates look for low-fat dairy ingredient Quark

Design agency Parker Williams has designed the launch packaging for Lake District Dairy Co’s
Quark, a new fat-free dairy ingredient for cooking, baking and mixing.


     The product, which is already on sale in selected Tesco, Morrisons, and Sainsbury’s stores, is intended to replace ingredients like crème fraiche, mascarpone, soft cheese and cream to make them healthier.

     Parker Williams’ managing director Kate Bradford said: “Quark is an ingredient with really impressive nutritional credentials, and we wanted our design to reflect the product benefits – it’s clean, fresh tasting, and naturally fat free – as well as working in the distinctive equities of the Lake District Dairy Co brand.

     “The ‘Q’ of the  Quark name itself has been crafted to suggest the soft spoonable consistency of the product, and we choose a bright fresh colour palette for variant navigation to contrast with Lake District’s familiar black livery.”

     Claire Irvine, brand manager at the brand’s owner First Milk, added: “Parker Williams has given Lake District Dairy Co. Quark a strong and striking brand presence in the soft cheese chiller.

     “Quark overall is a product that has been hiding for too long in the UK dairy sector, and we are pleased to introduce it as part of the Lake District Dairy Co. range.”

-------------------------------------------

วิลเลียมส์ ปาร์กเกอร์ สร้างสรรค์รูปลักษณ์สำหรับ Quark ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันต่ำ

หน่วยงานการออกแบบ วิลเลียมส์ ปาร์กเกอร์ ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์เปิดตัวให้กับแบรนด์ เลค ดิสตริกท์ ไดรี่
Quark ผลิตภัณฑ์นมปราศจากไขมัน สำหรับปรุงอาหาร,เบเกอรี่และใช้เป็นส่วนผสม


     ผลิตภัณฑ์นี้ ได้ออกวางจำหน่ายแล้วที่ เทสโก้,มอร์ริสัน และเซนส์บิวรี่ส์ สโตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าไปแทนที่ส่วนผสม จำพวก ครีมสด,มาสคาโพนี,ซอฟท์ชีส และครีม ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี

     เคท แบรดฟอร์ด กรรมการผู้จัดการบริษัทวิลเลียมส์ ปาร์กเกอร์ กล่าวว่า:"Quark เป็นส่วนผสมที่มีข้อมูลทางโภชนาการ ที่น่าประทับใจจริงๆ และเราต้องการให้การออกแบบของเราสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ความสด,สะอาด และไม่มีไขมัน รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นทางการตลาด ของบริษัท เลค ดิสตริกท์ ไดรี่"

     ตัวอักษร "Q" ในชื่อ Quark เองนั้น ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้ช้อนตักของนุ่มๆ ซึ่งสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ และเราเลือกจานสีสดใสเพื่อนำความแตกต่างกับโทนสีดำของ เลค ดิสตริกท์ ที่คุ้นเคย

     แคลร์ เออร์ไวน์ ผู้จัดการแบรนด์ ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ เฟิรสท์ มิลค์ กล่าวเพิ่มว่า:"วิลเลี่ยมส์ ปาร์กเกอร์ ได้ทำให้ Quark ของบริษัท เลค ดิสตริกท์ ไดรี่ มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและโดดเด่นด้วยซอฟท์ชีสที่เย็น

     Quark โดยรวม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซ่อนตัวอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นมของสหราชอาณาจักร และเรายินดีที่จะแนะนำให้เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ อีกชิ้นหนึ่งของ เลค ดิสตริกท์ ไดรี่

-------------------------------------------

สรุป

       บริษัทวิลเลี่ยมส์ ปาร์เกอร์ ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัท เลคดิสตริกไดรี่ โดยใช้ชื่อว่า Quark
       Quark คือ ผลิตภัณฑ์นมไร้ไขมัน ผลิตจากนมไขมันต่ำ ไว้สำหรับปรุงอาหาร,ทำเบเกอรี่หรือใช้เป็นส่วนผสมต่างๆ 
       ผลิตภัณฑ์นี้ มีวางจำหน่ายแล้วตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเข้าไปแทนที่ส่วนผสมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันสูง จำพวก ครีมสด,มาสคาโพนี,ซอฟท์ชีสและครีม ซึ่ง"Quark"จะทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี
       เรื่องการออกแบบ ที่มาของชื่อ"Quark"นั้น ได้รับสร้างขึ้นมาเพื่อให้เห็นถึงการใช้ช้อนตักของนุ่มๆ ส่วนตัวบรรจุภัณฑ์นั้นจะใช้จานสีสดใสตัดกับโทนสีดำ จานสีสดใสนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ ความสด,สะอาดของผลิตภัณฑ์ ส่วนโทนสีดำของคำว่า เลค ดิสตริกท์ ไดรี่ ในส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณา ทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักและมีความน่าเชื่อถือ


-------------------------------------------

อ้างอิงถึงแหล่งที่มา

PackagingNews-Parker Williams creates look for low-fat dairy ingredient Quark.
บทความโดย Josh Brooks
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่ http://www.packagingnews.co.uk/design/new-packs/parker-williams-creates-look-for-low-fat-dairy-ingredient-quark/
เข้าถึงเมื่อ 18/มิถุนายน/2556

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำว่า 1.การออกแบบกราฟิก(Grahpic Design), 2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

ารออกแบบกราฟิก(Graphic Design)


     "ครูปกรณ์กฤช กันทะเลิศ" ให้ความหมายไว้ว่า การออกแบบ คือ การวางแผนสร้างสรรค์ รูปแบบโดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย การออกแบบที่ดีควรคำนึงถึง 1. รูปแบบสร้างสรรค์ 2. มีความงามที่น่าสนใจ 3. สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย 4. เหมาะสมกับวัสดุ 5. สอดคล้องกับการผลิต
        Tibor Kalman นักกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ชาวฮังการีแห่งค่าย Colors Magazine ได้ให้สัมภาษณ์กับ Moira Cullen นักเขียนทางด้านการออกแบบชั้นนำไว้ว่า "Graphic Design คือภาษาอย่างหนึ่ง แต่นักออกแบบกราฟิกไม่ต้องยุ่งยากหรือกังวลเกี่ยวกับหลักการในเรื่องของภาษา เช่นเรื่องพยางค์หรือเว้นวรรคมากนัก แต่นักออกแบบควรใช้เวลาไปสนใจในเรื่องการสื่อสารออกไปในทิศทางที่มันควรจะเป็นให้ได้เสียมากกว่า"
        Massimo Vignelli นักออกแบบชาวอิตาลีได้ให้ความเห็นว่า "กราฟฟิกดีไซน์เปรียบเสมือนกับการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ" โดยประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงควาหมายให้ถูกต้อง, การจัดการกับประโยค หรือข้อความที่สอดคล้องกัน และการจัดการกับส่วนที่มีความหมายยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย


สรุปความหมายของการออกแบบกราฟิก

      การออกแบบกราฟิก คือการสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สิ่งที่เราสร้างสรรค์ออกมานั้น เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจ



อ้างอิงถึงไฟล์เอกสารหน้านี้

"หลักการออกแบบกราฟิก" โดย ครูปกรณ์กฤช กันทะเลิศ 
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่ URL Address http://www.slideshare.net/pakornkrits/1-design
เข้าถึงเมื่อวันที่ 13/มิถุนายน/2556

"Graphic คืออะไร ? คำว่า Graphic จริงๆแล้วหมายถึงอะไร ไปดูความหมายของคำว่ากราฟิกกัน" 
บทความโดย Nakarin U-arun
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่ URL Address  http://graphics.in.th/what-is-graphic/
เข้าถึงเมื่อวันที่ 13/มิถุนายน/2556



  ----------------------------------------------------------



การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)


          การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หมายถึง กระบวนการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆให้แปลกใหม่ สะดวก สบายและสอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบ คุณสมบัติของวัสดุ เพื่อใช้ห่อหุ้ม ป้องกันและรักษาคุณภาพ และลักษณะสินค้าให้คงสภาพเดิม หรือใกล้เคียงกับแรกผลิตมากที่สุด


       การออกแบบบรรจุภัณฑ์  หมายถึง ารสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (to communicate) ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต ด้วยการใช้วิธีกาออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมายและสัญลักษณ์ ทางการค้า และอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสานกลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว

       การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หมายถึง สร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดีมีความปลอดภัยจากการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความประหยัดความมีประสิทธิภาพในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค โดยใช้ความรู้ทางแขนงศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติต่างๆ ดังเช่น ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคตลอดจนให้เข้าใจถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อุปโภคตลอดจนเข้าใจถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

       คือการคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ สิ่งต่างๆให้ดูแปลกใหม่ น่าสนใจ มีเอกลักษณ์พิเศษ ตลอดจนทำให้เข้าใจถึงความหมายของผลิตภัณฑ์ และสดวกสบายในการหยิบจับอีกด้วย โดยการออกแบบนั้นต้องสอดคล้องกับ วัสดุเพื่อใช้ห่อหุ้ม ป้องกันรักษาให้สินค้าภายในคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด

----------------------------------------------------------

สรุปความหมายของการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์

       หมายถึง การคิด สร้างสรรค์ โดยใช้ องค์ประกอบศิลป์ ทำให้ สิ่งๆต่างดูแปลกใหม่ น่าสนใจ มีเอกลักษณ์พิเศษ สื่อความหมายชัดเจน โดยสอดคล้องกับวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มและสินค้าที่อยู่ภายใน

----------------------------------------------------------

อ้างอิงถึงไฟล์เอกสารหน้านี้


การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์.
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่  http://design-prt1330.exteen.com/20080718/entry-5 
เข้าถึงเมื่อ 13/มิถุนายน/2556

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (PackagingDesign) 
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่  http://www.smile-sme.com/?f 
เข้าถึงเมื่อง 13/มิถุนายน/2556

Definition การออกแบบบรรจุภัณฑ์
เว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษา เข้าถึงได้ที่http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw32.pdf 
เข้าถึงเมื่อง 13/มิถุนายน/2556 

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...